เมนู

ในคำว่า โลเมน ตฺวํ มุตฺโตสิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ขนเหมือนขน, ก็ขนนั้น คืออะไร ? คือ บรรพชาเพศ. พระเจ้า-
พิมพิสาร ตรัสอธิบายไว้อย่างไร ? ตรัสอธิบายไว้อย่างนี้คือ :- เปรียบ
เหมือนพวกนักเลงปรึกษากันว่า พวกเราจักเคี้ยวกินเนื้อแล้ว จึงจับแพะตัว
มีขนซึ่งมีราคามากไว้, บุรุษผู้รู้ดีคนหนึ่ง พบเห็นแพะตัวที่ถูกจับไว้นั้นนี้
จึงคิดว่า เนื้อแพะตัวนี้ มีราคาเพียงกหาปณะเดียว, แต่ขนของมันทุก ๆ เส้น
ขนมีราคาตั้งหลายกหาปณะ จึงได้ให้แพะเขาไป 2 ตัว ซึ่งไม่มีขน แล้วพึง
รับเอาแพะตัวที่มีขนนั้นไป, ด้วยอาการอย่างนี้ แพะตัวนั้น พึงรอดพ้นด้วยขน
เพราะอาศัยบุรุษผู้รู้ดี ข้อนี้ชื่อฉันใด, ตัวพระคุณเจ้าก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ควรถูกฆ่าและจองจำ เพราะทำกรรมนี้, แต่เพราะพระคุณเจ้า มีธงชัย
พระอรหันต์ มีสภาวะอันสัตบุรุษไม่พึงดูหมิ่นได้ และเพราะพระคุณเจ้าบวช
ในพระศาสนา ทรงไว้ซึ่งธงชัยแห่งพระอรหันต์ เป็นบรรพชาเพศ ; เหตุนั้น
พระคุณเจ้าจึงรอดตัวด้วยขนคือบรรพชาเพศนี้ เหมือนแพะรอดพ้นด้วยขน
เพราะอาศัยบุรุษผู้รู้ดี ฉะนั้น.

[

ประชาชนเพ่งโทษติเตียนเหล่าสมณศากยบุตร

]
สองบทว่า มนุสฺสา อุชฺฌายนฺติ ความว่า เมื่อพระราชาทรงรับสั่ง
อยู่ในบริษัท มนุษย์ทั้งหลายในสถานที่นั้น ๆ ครั้นได้ฟังพระราชดำรัส ทั้งต่อ
พระพักตร์และลับพระพักตร์แล้ว ย่อมเพ่งโทษ คือ ดูหมิ่น ได้แก่ เมื่อดูหมิ่น
ก็เพ่งจ้องดูพระเถระนั้น, อนึ่ง หมายความว่า ย่อมคิดไปทางความลามก.
บทว่า ขียนฺติ ความว่า ย่อมพูด คือ ประจานโทษของพระเถระนั้น.
บทว่า วิปาเจนฺติ ความว่า แต่งเรื่องให้กว้างขวางออกไป คือ
กระจายข่าวให้แพร่สะพัดไปในสถานที่ทุกแห่ง. ก็แล ผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความ
นี้ ตามแนวคัมภีร์ศัพทศาสตร์

อนึ่ง ในคำว่า อุชฺฌายนฺติ เป็นต้นนี้ มีโยชนาดังนี้ คือมนุษย์
ทั้งหลาย เมื่อคิดถึงเรื่องราวเป็นต้นว่า พระสมณศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้
ไม่มีความละอาย ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเพ่งโทษ, เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า พระ-
สมณศากยบุตรเหล่านี้ ไม่มีคุณเครื่องเป็นสมณะ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมติเตียน,
เมื่อกระจายข่าวกว้างขวางออกไปในสถานที่นั้น ๆ เป็นต้นว่า พระสมณะ
ศากยบุตรเหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะแล้ว ดังนี้ ชื่อว่าย่อมโพนทะนาข่าว
แม้ต่อจากนี้ไป ก็ควรทราบโยชนาแห่งบทเหล่านี้ ตามควรแก่บทที่มาแล้วใน
ที่นั้น ๆ โดยนัยนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจาริโน คือ ผู้ประพฤติประเสริฐ
ความเป็นสมณะ ชื่อสามัญญะ. ความเป็นผู้ประเสริฐ ชื่อพรหมมัญญะ. คำที่
เหลือมีใจความตื้นแล้วทั้งนั้น.
ในคำว่า รญฺโญ ทารูนิ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ใจความนี้ว่า
ได้ถือเอาไม้ของหลวง ที่มิได้พระราชทาน ดังนี้ มีความเพ่งโทษเป็นอรรถ.
อนึ่ง เพื่อแสดงถึงไม้ที่มิได้พระราชทาน ซึ่งพระธนิยะได้ถือเอาแล้วนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ไม้ของหลวง เป็นต้น. อันผู้ศึกษาทั้งหลาย เมื่อไม่หลงลืมความ
ต่างแห่งวจนะ ก็ควรทราบใจความดังอธิบายมาฉะนี้แล.

[

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

]
สองบทว่า ปุราณโวหาริโก มหามตฺโต มีความว่า มหาอำมาตย์
ผู้ถึงความนับว่า ผู้พิพากษา เพราะถูกแต่งตั้งไว้ในโวหารคือการตัดสินความ
ในกาลก่อนแต่ความเป็นภิกษุ คือ ในเวลาเป็นคฤหัสถ์.
หลายบทว่า อถโข ภควา ตํ ภิกฺขุํ เอตทโวจ อธิบายความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบแม้ซึ่งบัญญัติแห่งโลกอยู่ด้วยพระองค์เอง